ชื่อกรุพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรมีมากสมกับเป็นเมืองแห่งพระเครื่องอย่างแท้จริงเนื่องจากมีกรุพระเครื่องมากไม่อาจจะเขียนรายละเอียดเป็นรายกรุได้ จึงใคร่ขอจัดอันดับตามความนิยมของกรุที่วงการพระเครื่องให้ความนิยมไว้ซึ่งบางกรุเซียนพระในส่วนกลางและผู้ศึกษาหรือสะสมพระเครื่องยังไม่ทราบจะทราบเฉพาะคนในพื้นที่จริงๆเท่านั้นแต่ทั้งนี้คนในพื้นที่จริงๆถ้าไม่สนใจหรือใคร่ศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องก็ไม่รู้เลยโดยสรุปจะมีทั้งหมด 5 กลุ่มใหญ่โดยเรียกกลุ่มต่างๆตามสภาพพื้นที่ของชุมชน ตามสภาพภูมิประเทศในปัจจุบันหรือตามที่มีชื่อเรียกมาตั้งแต่เดิมหรือชื่อที่เป็นเจ้าของสถานที่บริเวณที่พบเจอพระเป็นต้นนับได้ได้โดยประมาณ 150กรุดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. กรุฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) ซึ่งแยกออกมาได้ 2 กลุ่มหลัก คือ
1.1. กรุที่พบพระเครื่องในสถานที่ดังกล่าวซึ่งปัจจุบันยังมีสภาพเจดีย์พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงมีสภาพหลงเหลืออยู่และทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนมีประมาณ 9 กรุไว้ ได้แก่ 1)กรุวัดพิกุล 2)กรุวัดบรมธาตุ 3)กรุวัดซุ้มกอ 4)กรุหนองลังกา5)กรุหม่องกาเล6)กรุเจดีย์กลางทุ่ง7)กรุหนองยายช่วย 8)กรุริมวารี 9)กรุโคกกะชีซึ่งกรุพระดังกล่าวส่วนใหญ่เนื้อพระจะมีความหมึกนุ่มสวยงามและแกร่งตลอดจนพุทธศิลป์ขององค์พระจะมีความปราณีตสวยงามบ่งบอกถึงฝีมือของการแกะแม่พิมพ์พระ งานศิลปะช่างหลวงที่สำคัญเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องในเมืองไทยมาช้านานนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2. กรุที่พบพระเครื่องในสถานที่นั้นซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว สร้างบ้านเรือนทับสถานที่และปรับปรุงเป็นพื้นที่เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยตลอดจนเป็นพื้นที่สวนไร่นาที่ทำกินของชาวบ้านหรือเป็นสถานที่ราชกาลมีประมาณ 32 กรุ ได้แก่ 1)กรุวัดฤๅษี2)กรุตาลดำ 3)กรุปากคลองสวนหมาก4)กรุบขส. 5)กรุหน้าศูนย์บขส. 6)กรุตาพุ่ม 7)กรุคลองไพร8)กรุตู้ใหญ่เชื้อ9)กรุครูกำยาน10)กรุวังแปบ11)กรุท่านา 12)กรุบ้านไร่ 13)กรุวัดทุ่งสวน 14)กรุนาตาคำ 15)กรุท่าทราย 16)กรุริมน้ำบ้านนครชุม 17)กรุวัดท่าหมัน 18)กรุวัดธาตุน้อย 19)กรุหลังวิทยาลัยครู 20)กรุหนองพุทรา 21)กรุสามแยกวังยาง 22)กรุป่าชะอม 23)กรุริมคลองสวนหมาก 24)กรุคลองวังยาง 25)กรุคาทอลิก 26)กรุหลังป้อมทุ่งเศรษฐี 27)กรุพระธาตุเสด็จ 28)กรุนาตาชิต 29)กรุท่าเดื่อ 30)กรุแยกนครชุม 31)กรุวัดทุ่งเศรษฐี32)กรุคลองวังยางและสถานที่ต่างๆบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุมอีกนับสิบกรุ ที่ได้กลายสภาพเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้านตลอดจนสถานที่ราชการ พระของทุ่งเศรษฐีที่ได้รับความนิยมเป็นที่เลื่องลือก็คือเรื่องศิลปะความงามและเนื้อวัสดุ ดิน ชิน ผง และว่าน เนื่องจากมีความละเอียดประณีตเป็นพิเศษมักจะติดปากนักพระเครื่องทั่วไปว่า “เนื้อทุ่ง” ซึ่งนักพระเครื่องรุ่นเก่ามักเรียกกันว่า “เนื้อเกสร” มีความละเอียด หนึกนุ่มเป็นพิเศษ ยากที่จะหาเนื้อพระกรุอื่นเมืองอื่นมาเทียบได้และมีสีสันที่สวยงามที่สุดในประเทศไทยเพราะมีสีเนื้อพระเกือบทุกสีสันจากการผสมของดินและว่านต่างๆ
• หมายเหตุ ในวงการพระเครื่องจะเรียกว่า กรุทุ่งเศรษฐี กรุลานทุ่งเศรษฐี กรุนครชุม เป็นต้น
2. กรุฝั่งเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) ซึ่งแยกออกมาได้ 4 กลุ่มหลัก คือ
2.1. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร(เขตวัดอรัญญิก) ซึ่งพบพระเครื่องตลอดจนวัตถุโบราณต่างๆตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันและยังมีร่องรอยซากอิฐเจดีย์เสาโครงสร้างอิฐศิลาแลงต่างๆตามสภาพทั้งก่อนบูรณะและหลังบูรณะแล้วในปัจจุบันซึ่งมีประมาณ 30 กรุได้แก่
1)วัดอาวาสใหญ่ , 2)วัดช้างรอบ , 3)วัดพระนอน , 4)วัดสิงห์ , 5)วัดพระสี่อิริยาบถ , 6)วัดสี่ห้อง , 7)วัดเจดีย์กลม , 8)วัดมะกอก , 9)วัดมะเคล็ด , 10)วัดเพทาราม , 11)วัดตะแบกคู่ , 12)วัดริมทาง , 13)วัดฆ้องชัย , 14)วัดป่ามืด , 15)วัดป่ามืดใน , 16)วัดป่ามืดนอก , 17)วัดนาคเจ็ดเศียร , 18)วัดรามณรงค์ , 19)วัดกำแพงงาม , 20)วัดตะแบก , 21)วัดหมาผี , 22)วัดมณฑป , 23)วัดป่าแลง , 24)วัดเตาหม้อ , 25)วัดป่าแฝก , 26)วัดท้ายหนอง , 27)วัดมะม่วงงาม , 28)วัดเขาลูกรัง , 29)กรุวัดตึกพราหมณ์ , 30)วัดวิหารงาม
ซึ่งวัดทั้งหมดดังกล่าวจะอยู่ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งจะต้องซื้อบัตรผ่านประตูเข้าชมภายในอุทยานประวัติศาสตร์
• หมายเหตุ วัดป่าแฝก, วัดท้ายหนอง, วัดมะม่วงงาม, วัดเขาลูกรัง, วัดตึกพราหม์ ในต้นปี 2559 กำลังอยู่ในขั้นตอนบูรณะและปรับปรุงสถานที่วัด
• หมายเหตุ ในวงการพระเครื่องจะเรียกว่า วัดเขตอรัญญิกในสมัยโบราณ หรือ ฝั่งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบัน
2.2. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร(อรัญวาสี)ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นกำแพงคูคันดินคลองน้ำและอิฐศิลาแลงรอบๆเมือง มีประมาณ 20 กรุ อันได้แก่
1)กรุวัดพระแก้ว ,2)กรุวัดพระธาตุ,3)กรุวัดสระมน, 4)กรุสปจ. , 5)กรุวัดทองกวาว , 6)กรุวัดมะขามเฒ่า, 7)กรุวัดป่าพริก,8)วัดป่ากล้วย,9)วัดโพธิ์ใหญ่, 10)วัดกลางนคร, 11)วัดอี้เก้ง12)กรุวัดป่าสัก, 13)กรุวัดดงมูลเหล็ก, 14)กรุวัดต้นสำโรง, 15)กรุศาลเจ้าพ่อ , 16)กรุวัดเสมางาม, 17)กรุวัดโพธิ์เงิน, 18)กรุวัดโพธิ์ทอง, 19)กรุวัดหางนกยูง, 20)กรุวัดราชพฤกษ์
• หมายเหตุ ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า กรุฝั่งศาลากลางจังหวัดและวัดดังกล่าวไม่ต้องซื้อบัตรผ่านประตูเข้าชมเพราะอยู่ติดกับถนนเส้นกำแพงเพชร-สุโขทัย ในสมัยโบราณกรุพระดังกล่าวอยู่ในเขตเมืองมีรั้วกำแพงคูดินล้อมรอบ มีวัดพระแก้วเป็นวัดประจำเมือง (วัดหลวงในสมัยโบราณ) เป็นต้น

2.3. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุอยู่ภายนอกรั้วอุทยานประวัติสาสตร์กำแพงเพชรแต่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร(เขตอรัญญิกในสมัยโบราณ)มี 9 กรุ อันได้แก่ 1)กรุวัดสระแก้ว, 2)กรุวัดดงอ้อ, 3)กรุวัดบ่อสามเสน, 4)กรุวัดอาวาสน้อย, 5)กรุวัดวิหารลอย, 6)กรุวัดหนองปลิง, 7)กรุวัดเจดีย์งาม, 8)กรุวัดศาลพระภูมิ, 9)กรุบ่อสามไห

2.4. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแต่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งอยู่แยกอิสระใกล้ชุมชนหรืออยู่ติดกับที่ของชาวบ้านอันมีประมาณ21กรุได้แก่1)กรุวัดช้าง, 2)กรุวัดดงหวาย, 3)กรุวัดเชิงหวาย, 4)กรุวัดลายคราม, 5)กรุวัดตะแบกลาย, 6) กรุวัดกะโลทัย , 7)กรุวัดไร่ถั่ว , 8)กรุวัดตาเถรขี่เกวียน,9)กรุวัดป่าไผ่,10)กรุวัดป่ามะปราง,11)กรุวัดป่ามะม่วง,12)กรุวัดดงกล้วย,13)กรุวัดแคใหญ่, 14)กรุวัดวิหารขาด, 15)กรุวัดป่ายาง, 16)กรุวัดดงขวาง,17)กรุวัดโพธิ์สามขา ,18)กรุวัดบาง,19)กรุวัดน้อย,20)กรุวัดชีนางเกา,21)กรุหลังโรงพยาบาล(หลวงพ่อเจ๊ก)
ซึ่งกรุพระดังกล่าวยังมีสภาพเจดีย์ที่ต่างสภาพกันและไม่สมบูรณ์หรือเหลือเพียงซากเจดีย์เนื่องจากถูกทุบทำลายจากการค้นหาของเก่าวัตถุโบราณต่างๆและขุดเจาะขโมยพระเครื่องมาตั้งแต่สมัยอดีตซึ่งอยู่ในสภาพที่ต่างสภาพกัน(สำรวจต้นปี 2559)
3. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่อยู่รอบนอกเมืองกำแพงเพชรและอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งการพบพระนั้นจะเรียกชื่อกรุตามสถานที่ค้นพบหรือเรียกชื่อตามหมู่บ้านตำบลนั้นๆเป็นต้นมีประมาณ 27 กรุ ได้แก่ 1)กรุวัดบ่อเงิน, 2)กรุโรงสี, 3)กรุสมาคมไร่อ้อย, 4)กรุวังบัว, 5)กรุวัดหัวเขา, 6)กรุโขมงหัก, 7)กรุหลวงพ่อโต, 8)กรุคลองแม่ลาย,
บ้านโคน ,12)กรุเขาสะบ้า, 13)กรุวัดทองหลาง, 14)กรุลานดอกไม้, 15)กรุท่าเสากระโดง เมืองไตรตรึงษ์, 16)กรุท่าทราย เมืองไตรตรึงษ์, 17)กรุต้นโพธิ์ยักษ์ เมืองไตรตรึงษ์, 18)กรุวัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์, 19)กรุวัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์, 20)กรุวัดดงมัน เมืองไตรตรึงษ์, 21)กรุวัดดงอ้อ เมืองไตรตรึงษ์, 22)กรุวัดริมทาง เมืองไตรตรึงษ์, 23)กรุวัดพระปรางค์เมืองไตรตรึงษ์, 24)กรุ กม. 5 , 25)กรุเกาะเศรษฐี บ้านบ่อเงิน , 26)กรุบ้านมะกอกหวาน ต.เทพนคร,27)กรุลานดอกไม้ตะวันออก
4. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่อยู่ต่างอำเภอซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตอำเภอเมือง ซึ่งอยู่ไกลออกมาต่างอำเภอแต่ขึ้นอยู่กับเขตจังหวัดกำแพงเพชรบริเวณที่ค้นเจอพระส่วนใหญ่เจดีย์จะอยู่ริมน้ำหรืออยู่ตามเนินปลวกต่างๆเป็นต้น มี10 กรุ อันได้แก่1)กรุท่าทรุด(อ.ขาณุฯ),2)กรุลานดอกไม้ตะวันตก(อ.โกสัมพีนคร), 3)กรุคลองพิไกร(อ.ลานกระบือ), 4)กรุบ้านกล้วย(อ.ขาณุฯ), 5)กรุวังพาน(อ.พรานกระต่าย), 6)กรุโคกวัด(อ.พรานกระต่าย), 7)กรุคลองน้ำไหล(อ.คลองลาน), 8)กรุวังไม้พาย อ.พรานกระต่าย,9)กรุบ้านคลองเมือง(อ.โกสัมพีนคร),10)กรุวัดเขานางทอง(อ.พรานกระต่าย)
• หมายเหตุ พระที่ค้นพบซึ่งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร พระเนื้อดินส่วนใหญ่เนื้อจะหยาบความสวยงามตลอดจนพุทธศิลป์จะเป็นแบบฝีมือชาวบ้านเนื้อพระจึงสู้ฝั่งทุ่งและฝั่งเมืองไม่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระที่ใหญ่ๆและมีพระพุทธรูปบูชาต่างๆด้วยซึ่งพระดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ทราบจากส่วนกลางจะทราบเฉพาะเซียนพระหรือคนในพื้นที่เท่านั้น
5. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่สร้างในยุคหลัง(พระเกจิสร้าง)ซึ่งมีหลักฐานพยานวัตถุตลอดจนหลักฐานที่แน่นอน มีอายุการสร้าง 100 กว่าปีและเกจิอาจารย์ของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นผู้สร้างในยุคหลัง(กรุใหม่)
5.1. กรุวัดคูยาง(กรุใหม่) เดิมเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ทางฝั่งอำเภอเมือง(ศาลากลางจังหวัด) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าชื่อเดิมวัดอะไร ใครสร้างและสร้างในสมัยไหนแต่สันนิษฐานว่าสร้างมาไม่น้อยกว่า 400 ปี จนมาถึงสมัยรัชกาลที่4 ได้มีการบูรณะวัดใหม่และให้ชื่อว่า“วัดคูยาง” และพระกรุวัดคูยางนี้สร้างโดยอาจารย์กลึง(พระครูธรรมาธิมุตามณี) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นเกจิยุคร่วมสมัยเดียวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน หลวงพ่อขำวัดลานกระบือ และ หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าโดยในสมัยนั้นได้นำพระเครื่องสภาพหักชำรุดที่ได้เหลือจากการรื้อเจดีย์วัดบรมธาตุทั้ง 3 เจดีย์มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระชุดนี้ในการสร้างพระชุดนี้มีแม่พิมพ์อย่างน้อยประมาณ 40 แม่พิมพ์และได้นำมาบรรจุรวมไว้กับของเก่าที่สภาพสมบูรณ์ที่ได้จาก 3 เจดีย์ของวัดบรมธาตุโดยยุคยุบรวมสร้างเจดีย์เดียวที่เห็นในปัจจุบันนี้ซึ่งผู้สร้างเจดีย์คือ พญาตะก่าและพะโป๊ะ พ่อค้าชาวกะเหรี่ยง(พม่า)การสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสืบศาสนา(เจดีย์เริ่มสร้าง 2414 แล้วเสร็จ 2449) เนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มปานกลาง โดยส่วนมากจะเป็นสีแดงคล้ำบางองค์จะมีใขจับ ผู้ที่ไม่ชำนาญถึงกับตีเป็นพระกรุเก่าไปเลยก็มี โดยแม่พิมพ์นั้นทำขึ้นมาเองและแม่พิมพ์ที่ถอดมาจากแม่พิมพ์พระอื่นๆและส่วนใหญ่แม่พิมพ์จะตื้นๆไม่ลึกและคมชัดเท่าไหร่ พระที่ถอดจากพระพิมพ์เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระของเมืองกำแพงเพชรแต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของจังหวัดอื่นเช่น สมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระพลายเดี่ยวส่วนพระคง พระรอดนั้นไม่ได้ถอดพิมพ์มาในส่วนพระถอดพิมพ์ของเมืองกำแพงมีหลายพิมพ์ เช่น พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระซุ้มกอ พระขุนไกร พระร่วงนั่งฐานสำเภา นางกำแพงมีซุ้ม นางกำแพงนั่งเรือเมล์ พระอู่ทอง พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระลีลาเม็ดขนุน และพิมพ์นิยมที่เป็นที่รู้จักกันดีซึ่งพระบางส่วนทำการบรรจุอยู่ในเจดีย์วัดบรมธาตุและในบางส่วนทำการบรรจุอยู่ที่เจดีย์วัดคูยางต่อมาในภายหลังได้ถูกขโมยเจาะพระอยู่เรื่อยๆทางวัดจึงทำการเปิดกรุให้บูชาซึ่งทำให้พอมีพระหมุนเวียนอยู่ในสนามต่างๆ คือ เห็นพระก็จะบอกชื่อวัดได้เลยเช่น พระซุ้มเสมาสี่ทิศซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำที่เซียนพระในพื้นที่หรือส่วนกลางจะรู้จักดี สรุปแล้วถือว่า พระกรุวัดคูยาง เป็นพระกรุใหม่สร้างโดยเกจิอาจารย์มีอายุการสร้างประมาณ 115 ปี

5.2. กรุวัดบรมธาตุ(กรุใหม่) สร้างประมาณปีพ.ศ. 2440-2478 โดยท่านพระครูวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมธาตุและเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งเมื่อเอ่ยชื่อ ถึง กำแพงเพชรใครๆก็รู้จักคุณค่าของพระกรุเมืองกำแพงเพชรว่ายอดเยี่ยมขนาดไหน ใครๆก็อยากได้พระเมืองกำแพงเพชรกันทั้งนั้นเพราะเหตุที่พระกรุเมืองกำแพงเพชรมีคุณค่าที่ใครๆก็รู้จักนี่เอง ทำให้บดบังสิ่งที่มีคุณค่าซึ่งไม่ด้อยกว่ากันเลยสิ่งนั้นคือ พระเกจิอาจารย์แห่งกำแพงเพชรนั้นไม่ได้ด้อยไปกว่าพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย ถ้าเทียบกับอัญญมณีแล้วพระเกจิอาจารย์เมืองกำแพงเพชรก็เหมือนกับทับทิมสยามจากจันทบุรีเมื่อเอาไปเปรียบกับเพชรนั้นจริงอยู่เพชรน้ำงามๆย่อมมีคุณค่าสูงกว่าทับทิมสยาม แต่หากเรามองให้ดีทับทิมสยามน้ำดีสีสวยนั้น เดี๋ยวนี้คุณค่าไม่ได้ต่ำไปกว่าเพชรเลย… พระวิเชียรโมลี(ปลั่ง) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดคูยางส่วนพระธรรมาธิมุตมุนี (อาจารย์กลึง) เป็นเจ้าอาวาสวงศ์ที่ 4 ของวัดคูยาง และอาจารย์กลึงท่านเป็นพระอุปชาจารย์ของพระวิเชียรโมลี(ปลั่ง) เราจะเห็นได้ว่าจากอดีตถึงปัจจุบัน คนโบราณเขาสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง เช่นเดียวกับอาจารย์กับศิษย์คือ พระธรรมาธิมุตมุนี(อาจารย์กลึง) กับพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) ซึ่งได้สร้างพระสืบต่อกันมาองค์วิชาความรู้ตลอดจนวิธีการสร้างมูลสารต่างๆเหล่านี้คือภูมิปัญญาพื้นบ้านจากอดีตนับพันปีจนมาถึงปัจจุบันพระครูวิเชียรโมลี(ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) ท่านได้สร้างพระตั้งแต่อยู่ที่วัดลานดอกไม้ตกซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.โกสัมพีนคร) สมัยต่อมาท่านมาอยู่วัดคูยางซึ่งเป็นวัดอาจารย์ของท่าน (อาจารย์กลึง) ท่านก็ได้ร่วมสร้างพระดังกล่าวจนท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมธาตุ(ปี พ.ศ.2477ถึง2488) ซึ่งพระชุดดังกล่าวผู้เขียนตามเก็บรวบรวมได้จำนวนหนึ่งซึ่งมีพระซุ้มกอมีกนก-ไม่มีกนก พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนพิมพ์เล็ก โดยเนื้อพระแล้วพระกำแพงซุ้มกอกรุเก่าหากเอามาวางประกบคู่กันกับพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ กรุใหม่ ปรากฏว่าแยกแทบไม่ออกว่าอันไหนเก่าอันไหนใหม่ เพราะเนื้อพระดูแน่นกลมมีสีสันที่สวยกว่ากรุเก่า โดยเฉพาะสีแดงแบบส้มๆ หากถูกสัมผัสกับเหงื่อไหลแล้วสีพระจะมีความสวยงามแบบซึ้งตาเลยทีเดียว ปัจจุบันหาดูได้ยากมากคนในพื้นที่และจากส่วนกลางแทบจะไม่มีใครรู้จักเลยบางครั้งหากพบเจอพระดังกล่าวอาจตีเป็นพระซุ้มกอกรุเก่าไปเลย และที่สำคัญคือเนื้อพระดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากที่จะปลอมแปลงหรือทำให้เหมือนได้ คนรุ่นเก่าในพื้นที่นี้จะเรียกว่าเนื้อสังฆโลกหรือเนื้อเยื่อว่าน ว่ากันว่าพระองค์ดังกล่าวมีบรรจุอยู่ในเจดีย์วัดบรมธาตุด้วยจึงไม่แน่ชัดว่าท่านเริ่มสร้างพระดังกล่าวในสมัยปี พ.ศ.ใด ในปัจจุบันนี้พระดังกล่าวแทบจะไม่มีหมุนเวียนในวงการพระ ในพื้นที่เองก็หาชมได้ยากมากและเป็นที่หวงแหนแค่ศิษย์ยานุศิษย์ ของหลวงพ่อพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) เจตนารมณ์การสร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สรุปแล้วถือว่าพระกำแพงดังกล่าวเป็นพระกรุใหม่ เกจิอาจารย์เป็นผู้สร้าง อายุพระ 100 กว่าปีขึ้นไป