นางพญากรุวังมะสะ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ที่มีอายุถึงยุคสุโขทัย ‘วังมะสะ’ เป็นชื่อหมู่บ้านแหล่งที่พบพระสมัยสุโขทัยมากมายหลายประเภท ด้วยเหตุที่มีความเล็กกะทัดรัดและทรวด ทรงอ้อนแอ้น องค์พระมีขอบในเป็น รูปสามเหลี่ยม ผู้คนเลยยกให้เป็นตระกูล “นางพญา” เช่นเดียวกับนางพญาพิษณุโลก แต่มีขนาดเล็กและบางกว่ากันอย่างเห็น ได้ชัด พระกรุนี้แตกกรุในช่วงปี พ.ศ.2500 มีจำนวนมากพอสมควร ชาวบ้านขุดตามบริเวณโบราณสถานเก่า ๆ ไล่ตั้งแต่เขตตำบลสะพานหิน โดยพบ ‘ขุนแผนกรุวังมะสะ’ เป็นจำนวนมากนับเป็นการพบ “นางพญากรุวังมะสะ” เป็นครั้งแรกและมีจำนวนมากพอสมควร เมื่อขุดลึกลงไปก็พบพระเครื่องเนื้อชินอีก มีทั้งพระปางลีลา พระพิมพ์คล้ายกับพระลพบุรี เช่น นารายณ์ทรงปืน แต่ศิลปะยังไม่ลึกเท่าพระลพบุรี นางพญากรุวังมะสะ ที่ขุดพบมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อดิน ชินเงินพบน้อย เนื้อดินมีหลายสี ๆ ดำสนิทผสมผงใบลาน เนื้อดินจะละเอียดและหาชมได้ยากมาก ยังมีเนื้อมันปู คือออกสีแดงเข้ม เนื้อดินสีแดงอ่อนและสีแดงหยาบ อันเกิดจากการเผาแล้วโดนไฟไม่เท่ากัน แต่บางองค์โดนไฟน้อยมากเกือบจะเป็นดินดิบไปก็มี นางพญาวังมะสะจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ‘พระพิจิตรข้างเม็ด’ เนื้อชินเงิน ที่มีผิวปรอทจับ และในองค์ที่เป็นเนื้อดินออกมันปูก็จะมีคราบไขขาวขึ้นเช่นเดียวกัน ประทับนั่งปางมารวิชัย ทรวดทรงอ่อนช้อยจนคิดว่าเป็นพระตระกูลเดียวกัน บางองค์ก็ตัดเป็นสามเหลี่ยมชิดองค์พระ บางองค์ก็ตัดมีปีกยื่นออก แต่เกือบทั้งหมดขนาดจะเล็กกว่า ด้านหลังของเนื้อดินจะเห็นรอยลายนิ้วมือกดลงพิมพ์แล้วดึงออกมาโดยใช้นิ้วหัว แม่มือกับนิ้วชี้ ด้านหลังจึงนูนขึ้นเป็นสันลักษณะคล้าย ‘พระหูไห’ เนื่องจาก ‘นางพญาวังมะสะ’ เป็นพระที่มีขนาดเล็กจึงเป็นที่นิยมของสุภาพสตรี แม่ค้าแม่ขาย ถือว่ามีเมตตามหานิยม ทำมาค้าขึ้น เป็นพระชุดเล็ก พุทธคุณดีเยี่ยม.
พระนางพญาเล็กกรุวังมะสะ พิษณุโลก
฿500.00
พระกรุวังมะสะ พิษณุโลก ประวัติกล่าวว่าพระนเรศวรเป็นผู้สร้างเมื่อสี่ร้อยปีที่ผ่านมาแตกกรุสองครั้ง ๆ แรกปี 2500 และปี 2534 เนื้อชินน้อยกว่าดิน หลายพิมพ์เป็นพระนั่ง พระยืนปางลีลาพบน้อย พิมพ์ที่นำเสนอนี้เป็นพระนางพญาเล็ก พุทธคุณเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี จำนวนสามองค์ 500.- บาท ประกันแท้ครับ.